กรมธนารักษ์พร้อมเปิดจ่ายเหรียญที่ระลึก ๖o ปี บรมราชาภิเษก

สำหรับผู้ที่สั่งจองวันที่ 3 - 11 มิถุนายน 2553 รับได้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2553 เป็นต้นไป
ระหว่างเวลา 9.00 น. - 15.30 น. ณ หน่วยที่กำหนดในใบเสร็จรับเงินของท่าน
หลักฐานในการรับเหรียญ คลิ๊ก
___________________________
เหรียญกษาปณ์ชุดใหม่

.jpg)
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผย กรมธนารักษ์เตรียมออกใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่ ๙ ชนิดราคา ตั้งเป้าหมาย เริ่มผลิตออกมาใช้ในปี ๒๕๕๒ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑,๙๕๖ ล้านเหรียญ จะเริ่มนำเหรียญ ๒ บาท รุ่นใหม่เป็นสีทอง ออกมาใช้เป็นชนิดแรก ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์นี้ เป็นต้นไป มียอดผลิตทั้งสิ้นจำนวน 240 ล้านเหรียญ
สำหรับเหรียญ ๑ บาท เป้าหมายผลิตใหม่ 960 ล้านเหรียญ คาดว่าเริ่มนำออกมาใช้ได้ในเดือนกันยายน ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคา ในส่วนที่เหรียญ ๕ บาท ตั้งเป้าผลิตใหม่ 276 ล้านเหรียญ เริ่มใช้เดือนเมษายน, เหรียญ ๑o บาท ตั้งเป้าผลิตใหม่ 120 ล้านเหรียญ เริ่มใช้เดือนมิถุนายน ส่วนเหรียญ ๕o สตางค์ ตั้งเป้าผลิตใหม่ 180 ล้านเหรียญ และเหรียญ ๒๕ สตางค์ ตั้งเป้าผลิตใหม่ 216 ล้านเหรียญ คาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ได้ทันที
นายพฤฒิชัย กล่าวว่า ปริมาณเหรียญ กษาปณ์ทั้งหมดที่ผลิตในปี 2551 มีจำนวนกว่า 1.75 หมื่นเหรียญ จะไม่ทำให้เหรียญขาดตลาด เพราะคาดว่าการผลิตเหรียญชุดใหม่ แม้จะทำให้นักสะสมเก็บเหรียญเก่าไว้ แต่ก็คงไม่มาก เนื่องจากกรมธนารักษ์ตั้งเป้าทยอยเก็บเหรียญเก่าเข้าระบบหมดในอีก 5 ปีข้างหน้า จึงไม่ต้องรีบสะสม
"แต่ปัญหาตอนนี้คือ เหรียญซีรีส์ใหม่ยังไม่สามารถใช้กับเครื่องหยอดเหรียญ เช่น จ่ายค่ารถไฟฟ้า หรือรถไฟใต้ดิน ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ประกอบการ เพื่อขอให้ปรับระบบรองรับรูปแบบเหรียญที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เหรียญ ๕ บาท จะมีขนาดเท่าเดิม แต่ว่าน้ำหนักจะเบากว่ามาก ขณะที่เหรียญ ๕o สตางค์ และ ๒๕ สตางค์ จะเปลี่ยนวัสดุเงิน จากอะลูมิเนียมบรอนซ์ เป็นไส้เหล็กชุบทองแดง จึงทำให้สีเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีทองแดงมากขึ้น" นายพฤฒิชัย กล่าว
รมช.คลัง กล่าวอีกว่า สาเหตุที่มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ชุดใหม่ขึ้นมานั้น เพราะต้องการลดต้นทุนการผลิตเหรียญลง เนื่องจากราคาโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งผลจากการปรับซีรีส์เหรียญ ใหม่ครั้งนี้ ทำให้กรมธนารักษ์สามารถลดต้นทุนการผลิตเหรียญในปี ๒๕๕๒ ได้ถึง 15% เมื่อทําการเทียบจากจำนวนเหรียญที่ตั้งเป้าผลิตในปี ๒๕๕๒ จำนวน 1,956 ล้านเหรียญ โดยถ้าเป็นต้นทุนของเหรียญเดิมจะอยู่ที่ 4,758.- ล้านบาท ขณะที่ต้นทุนของเหรียญใหม่อยู่ที่ 2,990.- ล้านบาท ประหยัดได้ 1,768.- ล้านบาท
สำหรับเหรียญเงิน กษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่ทั้งหมด จะมีรูปแบบและลวดลายที่คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ปรับปรุงให้สวยงามมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่ มีความแตกต่างในสาระสำคัญจากเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดปัจจุบัน คือ...
1. เหรียญเงิน กษาปณ์ชนิดราคา ๑ สตางค์ และ ๑o สตางค์ เส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา และน้ำหนักคงเดิม แต่เปลี่ยนส่วนผสมของโลหะจากอะลูมิเนียม 97% เป็น 99%
2. เหรียญเงิน กษาปณ์ชนิดราคา ๕ สตางค์ น้ำหนักคงเดิม แต่เปลี่ยนเส้นผ่าศูนย์กลางจาก 16.00 มิลลิเมตร เป็น 16.50 มิลลิเมตร ความหนาลดลงจาก 1.40 มิลลิเมตร เป็น 1.35 มิลลิเมตร และเปลี่ยนส่วนผสมของโลหะจากอะลูมิเนียม 97% เป็น 99%
3. เหรียญเงิน กษาปณ์ชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕o สตางค์ เส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา และน้ำหนังคงเดิม แต่เปลี่ยนชนิดของโลหะจากอะลูมิเนียมบรอนซ์ (สีทอง) เป็นโลหะไส้เหล็กชุบทองแดง
4. เหรียญเงิน กษาปณ์ชนิดราคา ๑ บาท เส้นผ่าศูนย์กลางและความหนาคงเดิม แต่เปลี่ยนชนิดของโลหะจากคิวโปรนิกเกิลเป็นโลหะไส้เหล็กชุบนิเกิล และน้ำหนักลดลงจาก 3.40 กรัม เป็น 3.00 กรัม
5. เหรียญเงิน กษาปณ์ชนิดราคา ๒ บาท เส้นผ่าศูนย์กลางคงเดิม แต่เปลี่ยนชนิดของโลหะจากไส้เหล็กชุบนิเกิล (สีขาว) เป็นโลหะอะลูมิเนียมบรอนซ์ (สีทอง) น้ำหนักลดลงจาก 4.40 กรัม เหลือ 4.00 กรัม ความหนาลดลงจาก 1.70 มิลลิเมตร เป็น 1.50 มิลลิเมตร
6. เหรียญเงิน กษาปณ์ชนิดราคา ๕ บาท โลหะ เส้นผ่าศูนย์กลางคงเดิม แต่ความหนาลดลงจาก 2.20 มิลลิเมตร เป็น 1.75 มิลลิเมตร น้ำหนักลดลงจาก 7.50 กรัม เป็น 6.00 กรัม
7. เหรียญเงิน กษาปณ์ชนิดราคา ๑o บาท โลหะ เส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา และน้ำหนักคงเดิม
___________________________


เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 50 ปี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ด้านหน้าเหรียญ
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้านหลัง
กลางเหรียญมีรูปนิวเคลียร์ล้อมรอบด้วยอิเล็กตรอน โดยมีรูปธรรมจักรล้อมรอบเบื้องล่างรูปธรรมจักร
วันที่เริ่มใช้
27-07-2552
http://www.treasury.go.th/internet/
___________________________
สินค้า หยอดเหรียญ